เคยเขียนเรื่องการแต่งรูปด้วย PS ไว้นานแล้ว
เอามาโพสเก็บไว้ เผื่อเป็นประโยชน์กับคนอื่นบ้าง
ออกตัวไว้ก่อนนะครับว่าไม่ได้เซียนอะไรอย่างใครเขา
แถมใช้เครื่องมือเป็นจริงๆก็ไม่กี่อย่าง
นอกนั้นก็มั่วๆแถเอามาตลอด
เน้นอุปกรณ์น้อยแต่ใช้งานเยอะเข้าว่า
มันก็จะคล่องและชินมือไปเอง
ดังนั้น ถ้าให้ผมเริ่มแนะนำ
เอาเบสิกๆ ที่ใช้งานได้จริงกันก่อนดีกว่านะครับ (^^”)>
ถ้าจะให้เลือกความสามารถซักอย่างใน Photoshop มาซักอัน
หนึ่งอาวุธสุดยอดสำหรับการแต่งรูปของผม
ผมคงยกให้ Curve เป็นอาวุธอันแรกที่ผมมักจะใช้ (always)
ความสามารถหลักๆของมันก็คือ การปรับสีโดยรวมของภาพ
จากที่ถ่ายมาได้รูปเน่าๆตุ่นๆ ให้กลายเป็นสีสันสดใสขึ้น
ได้ในพริบตา
(^^) ฟังดูดีใช่มั๊ยครับ
อย่าเสียเวลาเลย เอาตัวอย่างมาดูกันดีกว่า
(โม้นาน เดี๋ยวทำไม่ได้ล่ะยุ่งเลย 55+)
สมมุติว่าผมมีรูปถ่ายตุ๊กตาโดเรมอนอยู่รูปหนึ่ง
ซึ่งบังเอิญไปถ่ายมาได้ด้วยสภาพแสงน้อย
รูรับแสงกว้าง ความชื้นสัมพันธ์ต่ำ
สภาพคล่องในกระเป๋าตังค์มีน้อย (จะบอกทำไม ?)
เอาเป็นว่า ถ่ายมาได้รูปแบบนี้ล่ะ
ซึ่งก็ดูเกือบจะดีแล้ว
แต่มันยังไม่ถูกใจวัยรุ่นซึ่งชอบสีสันสดใส
ประหนึ่งดอกทานตะวันต้องการแสงแดดยามเช้า
(เวอร์ไปนั่น)
ทำไงดีล่ะครับ
คำตอบ: ง่ายมาก
เพียงคุณเปิดรูปด้วยโฟโต้แฉ่บ 😛
แล้วกด Ctrl+M (ทำเป็นไฮโซใช้คีย์ลัด :P)
หรือจิ้มที่เมนู Image->Adjustments->Curves..
คุณก็จะได้หน้าต่างหน้าตาแปลกๆเพิ่มมาอีกหนึ่งหน้าต่าง
หน้าตาประมาณนี้…
สิ่งต่อไปที่คุณต้องทำก็คือ
กดเมาส์ลากเส้นทแยงมุมในกรอบให้เบี้ยวไปประมาณรูปที่เห็น
โดยคุณจะสังเกตเห็นสีสันของรูปคุณเปลี่ยนไปตาม
อยากได้แบบไหนลากเอาตามมันส์ส่วนตัวได้ครับ
แต่ถ้าสำหรับมือใหม่หัดเบี้ยว
ผมมีข้อแนะนำง่ายๆ คือ พยายามลากให้มันเป็นโค้ง
เป็นแนวตัว s เอียงเหมือนตัวอย่าง แล้วจะดีเอง
(*) คำอธิบายเพิ่มเติมสำหรับคนอยากรู้ลึกๆ
ถ้าใครกลัวปวดหัวก็อ่านข้ามไปได้ครับ
การปรับเส้นกราฟของ Curves นี่จริงๆแล้ว
เป็นการคำนวณค่าสีใหม่จากสีเดิมครับ
ถ้าสังเกตข้างๆกรอบของกราฟ จะเป็นแถบขาวดำ(ไล่สี)
อยู่สองแถบ โดยแถบแนวนอนจะแทนสีเดิมในรูป
และแถบแนวตั้งจะแทนสีใหม่ในรูป
จากลากเส้นเปลี่ยนลักษณของกราฟ จะทำให้จุดตัดที่ลากขึ้น
จากแถบแนวนอนไปตัดเส้นกราฟแล้วชิ่งไปหาแถบทางซ้าย
เพื่อแทนด้วยค่าสีใหม่
แล้วโปรแกรมก็จะทำการแทนค่าสีแบบนี้ทั้งภาพจนได้
ภาพใหม่แบบที่เรามองเห็นๆกันอยู่นี่เอง
สำหรับคนที่สงสัยว่าทำไมต้องเป็น s-curve
อธิบายง่ายๆก็คือ เราเพิ่มความสว่างให้สีโซนสว่างให้มากขึ้น
แล้วลดความสว่าง(ทำให้มืด) ในส่วนที่สีควรจะมืด(หรือเข้ม)
ผลลัพธ์ที่ออกมา ถ้าพูดง่ายๆก็คือ สีสันส่วนใหญ่สดขึ้น
เพราะจริงๆมันเป็นการเพิ่ม Contrast ของภาพนั่นเองครับ
ถ้าปรับแต่เพียงพอดีก็คงไม่มีปัญหาอะไร
แต่ถ้าหากปรับมากเกินคุณอาจจะได้รูปสีฉูดฉาดเกินจำเป็นเช่น
ไม่รู้ว่าถ้าเป็นข้าวจริงๆจะยังกินลงกันมั๊ย ?
(^^”)
แต่กับบางรูปการปรับ curve จัดๆก็ช่วยเร่งสี
ให้ดูโดดเด่นขึ้นมาได้เหมือนกัน (แต่ไม่ทุกรูปนะ)
เช่น รูปนี้ (ดอกพญาเสือโคร่ง จ.น่าน)
ดอกลิลลี่ – จ. เชียงราย
ที่เหลือนอกนี้เป็นตัวอย่าง ก่อนและหลังการปรับ curve อย่างเดียวครับ
(หมายเหตุแค่นี้ก็ใช้หากินได้หลายแล้ว :P)
ทำให้หมาเหงา เหง๊าาา เหงา แบบสะอาดได้ด้วย 😛
ทำให้ป่าแห้งๆ หวานขึ้นมาจับใจได้ด้วย !!?
เร่งสี เร่งอารมณ์ !!
ไม่หวั่นแม้วันมืดมิด !!
ในกรณีที่สีที่ได้จากกล้องมาไม่ค่อยชัด
เราก็สามารถเร่งสีเร่งวุ้นได้แบบนี้ (ไม่ใช่ปลาทอง :P)
สำหรับบางรูปถ้าคุมกราฟดีๆ จะเปลี่ยนอารมณ์ของภาพได้เยอะเลย เช่นรูปนี้
หวังว่าจะใช้ประโยชน์กันได้บ้างนะครับ (^^)>
ps. ส่วนเรื่อง Dogde กับ Burn เอาไว้วันไหนมีตัวอย่างดีๆ
ค่อยมาสอนกันอีกทีล่ะกันเนอะ
ps2. คำเตือนกรุณาเก็บไฟล์ original แยกไว้ก่อนทำรูปเสมอ (แล้วจะหาว่าไม่เตือน)