• About Me
  • My Slides

WindyGallery's Weblog

~ I am a normal man in quite imperfect little World.

WindyGallery's Weblog

Monthly Archives: October 2014

The next world of my son

10 Friday Oct 2014

Posted by windygallery in IDeas

≈ Leave a comment

Tags

history, internet, mobile, technology

แด่ ลูกชายตัวน้อยๆที่กำลังจะมาถึง

พ่อมีเรื่องเล็กๆที่อยากจดบันทึกไว้
เผื่อว่าวันหนึ่งลูกโตขึ้น แล้วต้องการข้อมูลในอดีค
ลูกจะยังพอหาได้บ้างว่าสิ่งที่เคยเกิด เป็นอยู่ และเปลี่ยนไป
ของยุคสมัยที่แตกต่างกันของพ่อและลูกต่างกันตรงไหน
และมันก็อาจจะเป็นข้อมูลเล็กๆให้ลูกรู้ว่า ลูกจะจัดการกับผู้คนที่เกิดและเติบโตมาในช่วงชีวิต
และวัฒนธรรมที่แตกต่างกันค่อนข้างมากได้อย่างไร

พ่อหวังว่านะ..

5474031152_a4da9c2bba_z

พ่อเกิดมาในประเทศไทย ยุคที่โลกยังหมุนค่อนข้างช้า
ยุคที่หนังสือยังเป็นสื่อหมายเลขหนึ่งในการศึกษา
โทรทัศน์จอสี และโทรศัพท์บ้านเป็นมาตรฐานที่จับต้องได้ในบ้านคนทั่วไป

ยุคที่พ่อกำลังศึกษาเล่าเรียนเป็นช่วงเทคโนโลยีเริ่มเปลี่ยนผ่าน
จากโทรศัพท์บ้าน ไปยังเพจเจอร์(อุปกรณ์สื่อสาร one way แบบ text only)
และข้ามไปยังโทรศัพท์มือถือในราคาที่จับต้องได้ของคนหมู่มาก

 

คอมพิวเตอร์เริ่มเข้ามาสู่สังคมในวงกว้าง

4404293469_c85e0bb9f8_z

จาก Computer PC ขนาดเล็กๆ ในตระกูล x86 ไม่กี่สิบ Hz ในช่วงพ่อเรียนมัธยม
กระโดดมาหลาย Hz ในช่วงมหาวิทยาลัย กลายเป็น 1-2 GHz ในช่วงพ่อเริ่มทำงาน
และกลายเป็น CPU หลาย core จนถึงปีที่พ่อเขียน(2014) 2-4 core เหมือนจะเป็นเครื่องสามัญธรรมดาไปแล้ว (ในขณะที่ปีนี้มือถือก็มีถึง 8 core ไปเรียบร้อย)

5767427108_10dab9c24d

ระบบปฏิบัติการในยุคแรกที่เห็น ก็คือ MS-Dos 6.22 ใส่มาในแผ่น Floppy disk ขนาด 5 นิ้ว
เวลาเปิดเครื่องใส่แผ่น boot เข้าไปก่อน พอโหลดเสร็จจนขึ้น command line แล้วค่อยเปลี่ยนแผ่น
เอา program โหลดเข้า memory เพื่อใช้งาน

แน่นอนว่าตอนนั้นยังไม่มีเมาส์ มีแต่ keyboard ที่พิมพ์สั่งงานเป็น command line ล้วน
พื้นที่ memory ในเครื่องที่ใช้ทำงานได้จริงมีขนาดแค่ 640 KB ซึ่งสมัยนั้นก็มากพอจะสร้างสรรค์เกมเท่ๆได้ไม่น้อย ที่เล่น จะมี prince of persia, simcity, mega man (สองเกมส์หลังทำให้พ่อหัดเรียนรู้เลขฐาน 16 เพื่อหาทางแก้ค่าพลังเงินใน save files) Tools จัดการไฟล์แบบ ui ตอนนั้นที่จำได้คือ PCtool และที่ระบาดหนักคือไวรัส diehard

2705997695_6beb7ef77f_z

ต่อมาช่วงมัธยเริ่มมี windows 3.11 เข้ามา และกลายเป็น windows 95 ในช่วงมัธยมปลาย เมาส์เริ่มมีความสำคัญมากขึ้น Microsoft word, Microsoft powerpoint และ Adobe Photoshop, Paintshop Pro เริ่มกลายเป็นโปรแกรมสำคัญในการใช้งานของเด็กๆ แถมด้วย ACDSee กับ WinAMP ในยุคที่ของเถื่อนระบาด แล้วโลกก็เริ่มหมุนไปในทาง graphical user interface อย่างเต็มกำลัง

มาถึงปัจจุบัน (2014) Microsoft Windows หมุนต่อเนื่องจาก
3.11 -> 95 -> 98 -> Me -> XP -> Vista -> 7 -> 8 -> 10
โดยรวมไม่รู้ว่าจะดีขึ้นหรือแย่ลง แต่ Apple Mac OS ก็ทำตัว sexy มากขึ้นเรื่อยๆจนเริ่มกินตลาดอย่างชัดเจน
ส่วน OS สายอื่นๆ เช่น Linux, ubuntu ก็แตกสายย่อยไปอยู่กับ server เป็นส่วนใหญ่ ยังไม่สามารถเข้าถึงผู้ใช้ทั่วไปโดยตรง แต่กลายเป็นระบบหลักในการให้บริการ services อยู่เบื้องหลังแทน

4021444_a65332c5b4_z

ในส่วนอินเตอร์เน็ตและความเร็วในบ้านเราก็เริ่มต้นขึ้นในช่วงประมาณปี 1997-2000
ด้วย modem แบบการ์ด PCI ความเร็วประมาณ 33.6 kbit/s ที่ต่อผ่านโทรศัพท์บ้านและมีเสีงอี๋แอ๋ๆ (ตามหาฟังเอาในเน็ตละลูก พ่อว่าอนาคตมันอาจจะกลายเป็นของโคตรคลาสสิกไป) ยุคนั้นความเร็วไม่สูงเพราะใช้วิธีแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นอนาล็อคส่งไปทางสายโทรศัพท์แบบตรงๆ พอมีโทรศัพท์จริงๆเข้ามันจะหลุดเพราะสัญญาณมันกวนกัน (ทำให้คนใช้เน็ตจะด่าว่าโทรมาทำไมช่วงนั้น และต้องโทรใหม่ เสียตังค์อีกรอบ) หลังจากยุคนั้นซัก 4-5 ปี เทคโนโลยี ADSL ก็เริ่มเข้าสู่บ้านเรา (ถ้าจำไม่ผิดผู้นำช่วงนั้นน่าจะเป็น TRUE) แล้วอะไรๆก็ดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะวัดกันได้จากความเร็วในการกระจายตัวของการโหลดเพลง/หนังเถื่อนกันเลยทีเดียว ซึ่งความโหดร้ายของยุคนี้คือทำลายวงการเทปกับซีดีเพลงบ้านเราให้เปลี่ยนไปเลย แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของ content สายใหม่ๆที่คนเข้าถึงและสร้างได้ง่ายขึ้น เช่น webboard, youtube และ blog แต่ภายหลังการมาถึงของ social networks ชื่อ facebook ก็มาทำลาย community พวก webboard และ website ไปอีกรอบ เพราะเล่นรวบเอาทุกอย่างที่คนสนใจมา เช่น photos (ทำให้เว็บฝากรูปบางอันเจ๊งไป เช่น multiply)

 

ความเปลี่ยนแปลงในฝั่งโทรศัพท์มือถือ

4828740096_8c81c94736_z

ก็เริ่มต้นจากโทรศัพท์ขนาดใหญ่ที่ใช้แค่โทรแบบส่งเสียงอนาล็อค ก็มาเป็นส่งข้อมูลแบบดิจิตอล
ขนาดเริ่มเล็กลง ลดขนาดเสาสัญญาณให้เล็กลง มีฝาพับ มีปุ่มกด เริ่มมีดีไซน์แบบสไลด์คีย์บอร์ด
และหน้าตาที่แตกต่างกันหลากหลาย ในช่วงต้นของยุคนั้น motolora กับ nokia เป็นผู้นำในตลาด
แต่ปัจจุบัน-ปี 2014 nokia โดนซื้อโดย Microsoft และพ่ายแพ้ไปกับการพยายามทำมือถือภายใต้ปีกของ Windows (phone) เพราะโดน Android จาก Google และ iOS จาก Apple (ซึ่งมาใหม่ในปี 2007,2008) ตีกินตลาดเรียบ ส่วน Motolora ก็โดน Google ซื้อและขายทิ้งไปเรียบร้อย

ความเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ ของมือถือนอกจากเปลี่ยนจากจอขาวดำมาเป็นจอสี ที่พ่อนึกออกมีอยู่ 4 อย่าง

1. จากเทคโนโลยี WAP (ที่โหมโปรโมตว่าจะเกิดแต่ดันตาย) มาเป็น full internet เต็มรูปแบบบนโมบาย ส่งผลข้างเคียงไปยังวงการออกแบบและพัฒนาเว็บให้เกิด การออกแบบที่ยืดหยุ่นต่อหน้าจอหลายขนาด (Responsive design) และการมาถึงของ HTML5 ที่เป็น standard ใหม่ของเทคโนโลยีเว็บที่มือถือรุ่นใหม่ส่วนใหญ่รองรับ ทำให้เทคโนโลยี flash animation จาก Adobe ถูกทิ้งเพราะความสามารถที่ทดแทนกันได้และความเป็นมาตรฐาน (และการชี้นำของ Steve Jobs CEO ของ Apple)

 

2. เทรนการตัดปุ่ม mechanic ทิ้งแล้วใช้พื้นที่เกือบทั้งหมดของมือถือเป็นหน้าจอ และนี่ส่งผลให้หน้าตามือถือยุคนี้ดูเหมือนกันไปซะหมด แต่ก็แลกมากับขนาดในการแสดงผลที่มากขึ้นกว่ายุคก่อนหลายเท่า

351867946_8b50180591_o

3. ตลาดของแอพลิเคชั่นที่ไม่เคยมีมาก่อน จากยุคแรกที่มือถือทำได้แค่ใช้งานตามฟังก์ชั่นที่ผู้ผลิตทำให้ใช้ กลายเป็นเปิดให้นักพัฒนาจากทั่วโลกสามารถเขียนโปรแกรมและส่งมาขายในระบบตลาดกลางได้ (Apple เป็นผู้นำในด้านนี้ และก็ทำให้เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ตลาด software บนมือถือเกิด เพราะง่ายในการซื้อและใช้งานมากจนทุกเจ้าต้องรีบทำระบบ market ตามมา)

 

4. sensor ร้อยแปด จากเดิมที่มือถือทำอะไรนอกจากโทรไม่ค่อยจะได้ มาถึงปัจจุบัน (2014) เรามีกล้องถ่ายรูป ตัววัดระยะห่าง วัดความกดอากาศ วัดการแกว่ง จับลายนิ้วมือ ความเร่งในการตก gyro การเต้นหัวใจ GPS wifi bluetooth NFC ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้มือถือทำได้เยอะกว่า PC มากจนเกิดการต่อยอดที่หลากหลาย เช่น บางคนทำเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด ทำรีโมตทีวี และหลอดไฟในบ้าน และที่รูดบัตรเครดิต ฯลฯ

13762771054_faef6368a4_z

…

 

พ่อไม่รู้ว่าโลกในอีกซัก 12 ปีข้างหน้าจะเปลี่ยนไปอีกมากแค่ไหน
พ่อเองก็ไม่เคยมีลูกมาก่อน
และก็ไม่รู้ว่าลูกจะโตออกไปแบบไหนในโลกที่เปลี่ยนไปเร็วขนาดนี้

แต่พ่อเชื่อว่าลูกจะได้อยู่ท่ามกลางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปเร็วกว่าที่พ่อพิมพ์ไว้มาก
ลูกน่าจะได้ลองเล่นกับหุ่นยนต์แบบที่พ่อเคยเห็นในหนัง
ลูกจะได้รับการศึกษาแบบใหม่ๆ ที่ไม่ได้อยู่แค่ในหนังสือเหมือนยุคพ่ออีกต่อไป
ซึ่งจะมีมากมายมหาศาลทั้งในด้านปริมาณ และความลึกของเนื้อหา

พ่ออาจเดาไม่ออกว่าในอนาคต อาชีพที่เหมาะสมของลูกจะเป็นอะไรได้บ้าง
ถึงตอนนั้นลูกอาจเขียนโปรแกรมด้วยการเรียงแบคทีเรียในหน่วยความจำของหุ่นยนต์กันแล้ว
หรือแนวคิดการเขียนโปรแกรมอาจย้ายไป paradigm ใหม่ที่หลุดพ้นจาก objective-oriented แบบที่พ่อเคยเรียนไปยังแบบที่เรียนรู้ความสัมพันธ์ของสิ่งของและ function จากสิ่งที่ sensor จับต้องได้กันแล้ว

9754012931_b19806b32c_z

พ่อเชื่อว่ามันคงมีอะไรสนุกๆอีกเยอะเลย

และยังเชื่อว่า

ลูกจะยังคงอิ่มเอมกับบรรยากาศ ดนตรี และศิลปะเหมือนพ่อ
แม้จะไม่ใช่รสนิยมแบบเดียวกันแต่มันก็ทำให้จิตใจสงบและมีความอ่อนโยนของมนุษย์ที่เทคโนโลยียังไม่มี

ขอให้สนุกกับชีวิตในยุคหน้า
🙂

@windygallery

Subscribe

  • Entries (RSS)
  • Comments (RSS)

Archives

  • August 2017
  • November 2015
  • August 2015
  • June 2015
  • May 2015
  • April 2015
  • March 2015
  • February 2015
  • January 2015
  • December 2014
  • November 2014
  • October 2014
  • September 2014
  • August 2014
  • July 2014
  • June 2014
  • May 2014
  • April 2014
  • March 2014
  • May 2012
  • February 2011
  • January 2011
  • August 2010
  • June 2010
  • May 2010
  • April 2010
  • February 2010
  • January 2010
  • December 2009
  • November 2009
  • October 2009
  • September 2009
  • August 2009
  • April 2009
  • March 2009
  • November 2008
  • October 2008

Categories

  • Developer
  • Events
  • Games
  • IDeas
  • Love
  • Photos

Meta

  • Register
  • Log in

Create a free website or blog at WordPress.com.

Privacy & Cookies: This site uses cookies. By continuing to use this website, you agree to their use.
To find out more, including how to control cookies, see here: Cookie Policy
  • Follow Following
    • WindyGallery's Weblog
    • Already have a WordPress.com account? Log in now.
    • WindyGallery's Weblog
    • Customize
    • Follow Following
    • Sign up
    • Log in
    • Report this content
    • View site in Reader
    • Manage subscriptions
    • Collapse this bar
 

Loading Comments...