• About Me
  • My Slides

WindyGallery's Weblog

~ I am a normal man in quite imperfect little World.

WindyGallery's Weblog

Monthly Archives: February 2015

King of Thieves

22 Sunday Feb 2015

Posted by windygallery in Games

≈ 1 Comment

Tags

game, king, of, thieves

เพิ่งได้ลองเล่นเกมใหม่จากค่าย http://www.zeptolab.com/ (เจ้าของเดียวกับ Cut the rope) แต่เกมนี้ไม่ใช่ซีรีย์มอนสเตอร์กินลูกอมเช่นเคย แต่มาในรูปแบบของโจร(กระจอก)ขโมย gem 😀

Photo 21-2-58 11 13 50

แนวคิดหลักของเกม คือ การเป็นจอมโจรขโมยเพชรที่มีมูลค่าสูงในแผ่นดินที่เต็มไปโจร ซึ่งแปลว่าเราขโมยเพชรมาได้ คนอื่นก็มาขโมยเพชรเราได้เหมือนกัน ความยากก็เลยมีอยู่สองแนวหลักๆ คือจะไปขโมยเพชรอย่างไรให้บาดเจ็บน้อยที่สุด กับจะป้องกันเพชรในบ้านตัวเองอย่างไรดี

Photo 21-2-58 08 51 36เกมมีวิธีการเล่นในการบุกอยู่สองแบบ

หนึ่งคือเล่นตามฉากไปเรื่อยๆ (ความยากจะค่อยๆเพิ่ม) เพื่อสะสมของและฝึกสกิลการหลบหลีก ส่วนแบบที่สองคือไปขโมยเพชรจากผู้เล่นคนอื่นทั่วโลก ซึ่งจะมูลค่าของเงินและเพชรมักจะสูงกว่าเล่นแบบไล่ด่าน (และแน่นอนตั้งป้อมกันโหดกว่าด้วย)

ทรัพยากรหลักในเกมจะแบ่งออกเป็น 4 อย่าง

Photo 21-2-58 08 52 56

1. ทอง
ใช้ในการ upgrade อาวุธยุทโทปกรณ์และสิ่งก่อสร้างเกือบทุกอย่าง โดยปกติเหมืองทองจะสร้างให้อัตโนมัติตามเวลา (ยิ่ง level สูงยิ่งให้เยอะ) และการบุกขโมยทองบ้านอื่นก็เป็นแนวทางหลักที่ใช้ได้ (บางทีอาจได้เพชรติดไม้ติดมือกลับมาด้วย)

Photo 21-2-58 23 29 17

2. เพชร
สิ่งล้ำค่ำที่จะบอกถึงระดับของโจร ยิ่งเพชรมีมูลค่าสูงยิ่งทำให้ระดับเราขึ้นได้ไว เราสามารถรวมเพชรหลายเม็ดเข้าด้วยกันเพื่อเพิ่มมูลค่าของเพชรได้ (เรามี slot เก็บเพชรจำกัด) และในช่วงเวลาที่กำลังหล่อหลอมรวมเพชรนี่เองจะเป็นชั่วเวลาที่ผู้เล่นออนไลน์คนอื่นสามารถบุกบ้านเข้ามาแย่งชิงเพชรที่กำลังรวมกันได้ ถ้าถูกขโมยเพชรไปแล้วจะเกิด shield กันบ้านให้ชั่วคราว และการหล่อจะหยุด เราต้องเติมเพชรตัวอื่นใส่เครื่องหล่อใหม่

Photo 21-2-58 08 52 03

ในกรณีที่เล่นกับเพื่อน (ลิงค์ผ่าน facebook) เพื่อนสามารถช่วยเราไปขโมยเพชรกลับมาให้เราได้

Photo 21-2-58 08 52 24

Photo 21-2-58 23 29 08

Photo 21-2-58 08 53 51

3. กุญแจ
ในการบุกแต่ละฉาก(ทั้งตามด่านและบ้านผู้เล่นอื่น) จะมีประตูสำหรับเปิดเข้าบ้านที่ต้องใช้ลูกกุญแจในการเปิด กุญแจหนึ่งดอกใช้ได้แค่หนึ่งรู หลายๆบ้านมักจะมีรูกุญแจหลอกมากมาย (ได้โดยการอัพเกรดประตูบ้าน) ทำให้ต้องเสี่ยงกดดู ถ้าถูกรูก็ประหยัดกุญแจไป โดยปกติกุญแจจะสร้างเองอัตโนมัติตามเวลา (ประมาณ 4 นาทีต่อ 1 ดอก) เป็นการบังคับไม่ให้เราบุกรัวๆตลอดเวลา

Photo 21-2-58 08 53 23

4. ลูกแก้วสีฟ้า
ใช้ในการเร่งเวลากการอัพเกรดสิ่งก่อสร้าง สามารถเก็บได้จากการทำ mission ตามที่เกมกำหนด หรือบางทีก็เปิดเจอในประตูบ้าน

นอกจากนี้จะเป็นไอเท่มเล็กๆน้อยๆที่ใช้ในการอัพเกรดทักษะของโจรเอง เช่น ใบไม้ เห็ด ฯลฯ

Photo 21-2-58 08 53 04

บ้านโจร(ของเรา)

บ้านแต่ละบ้านจะมีชุดป้องกัน เช่นพวกปืน ใบมีด ยักษ์สีแดง ผึ้งน้อย ให้ตามแต่ level และอำนาจเงินจะเอื้อมถึง เราสามารถจัดแต่งอาวุธป้องกันบ้านอย่างไรก็ได้ โดยมีข้อแม้ว่าเจ้าของบ้านต้องเล่นเองผ่านติดกันสองครั้งติด ถึงจะสามารถเซฟไว้เป็นบ้านของตัวเองได้ (ดังนั้นจะไม่มีเคส ตั้งฉากที่เป็นไปไม่ได้ออกมา)

Photo 21-2-58 22 32 06 เวลาผู้เล่นอื่นบุกเข้าบ้านเราแล้วตายก็จะมีหัวกระโหลกโชว์ให้เห็นว่าตายตรงไหน (มีภาพย้อนหลังให้ดูด้วย) ซึ่งถ้าวางฉากได้เจ๋งๆนี่จะสนุกมาก และเวลาเล่นบ้านคนอื่นก็จะได้ดูไอเดียชาวบ้านตลอดเวลา ว่าจะครีเอทยังไงให้เป็นไปได้ยากที่สุดสำหรับผู้เล่นคนอื่น

เท่าที่สังเกตจะมีบางบ้านใช้แบบบ้านชนิดที่เอ็งทำได้ครั้งเดียว ถ้าทำไม่ได้ก็ตายไปเลย อันนี้จะโหดขิงๆและแลกมากับเลือดเนื้อมากมาย

Photo 21-2-58 08 47 27
มีโหมดใก้แก้แค้นได้ด้วย บอกหมดว่ามาบุกบ้านเราตายกี่ครั้ง ใช้กุญแจไปกี่ดอก ได้เงินหรือเพชรไปเท่าไหร่

Photo 21-2-58 08 53 14 รวมเพชรทีนึงเป็นชั่วโมงครับ วัดดวงว่าจะโดนขโมยบุกไหม (ถ้าออนไลน์อยู่จะไม่โดนนะ แต่ใครจะออนไลน์ตลอดเวลาได้ล่ะ)

Photo 21-2-58 08 53 41

อัพเกรดอาวุธก็ต้องใช้เงิน (และเวลา)

Photo 21-2-58 08 53 58 Photo 21-2-58 08 54 03

เพชรแต่ละอันก็มีมูลค่าไม่เท่ากัน รวมกันแล้วมูลค่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ

Photo 21-2-58 09 39 38 แนวเกมโดยรวม ถือว่าทำออกมาได้ดีทีเดียว เป็นเกมแนวเดียวกับ Clash of Clans อันลือลั่น เพียงแต่ unit จำนวนน้อยกว่า เล่นง่ายกว่า แต่เมื่อยมือกับใช้ทักษะในการคอนโทรลตัวโจรเยอะกว่าพอควร 🙂

ตอนนี้ (กพ. 2015) มีเฉพาะบน iOS ครับ
https://itunes.apple.com/US/app/id952715194?mt=8

ขอให้สนุกกับการบุกครับ (^^)

 

 

Creative Brainstorm

15 Sunday Feb 2015

Posted by windygallery in Uncategorized

≈ Leave a comment

Tags

brainstorm, creative

7623744678_8c44be38af_z ในการทำงานสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เรามักจะต้องอาศัยการรวมหัวกันคิดเพื่อแก้โจทย์ หรือเปิดมุมมองใหม่ๆเกี่ยวกับวิธีแก้ปัญหา ที่จะทำให้ผลงานออกมาดี แต่การรวมหัวกันคิดทั่วๆไป มักจะให้ผลลัพธ์ครึ่งๆกลางๆมากกว่าไอเดียที่โดนใจอย่างที่คาดหวัง
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?

Tina Lynn Seelig แห่งมหาวิทยาลัย Standford ได้ทำการศึกษาค้นคว้าถึงวิธีการที่จะทำให้ สามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ออกมาเป็น process ที่จับต้องได้และทำซ้ำได้ง่ายขึ้น โดยแนวคิดของเธอพิสูจน์ให้เห็นถึงรายละเอียดหลายๆมุมที่น่าสนใจ

เพื่อให้เข้าใจแนวคิดของ Tina ง่ายขึ้น เราควรมาเริ่มต้นวิเคราะห์กันที่ต้นตอของปัญหากัน

สิ่งที่เรามักพบบ่อยในการประชุมรวมหัวเพื่อสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ คือ “ไม่ได้ไอเดียที่น่าสนใจจริงๆ”

คำถามสำคัญที่ควรวิเคราะห์ ก็คือ ทำไมไอเดียดีๆจริงไม่เกิดขึ้น ?
– เพราะคนเข้าร่วมไม่มีความสามารถ
– เพราะคนลีดการประชุมทำหน้าที่ไม่ดี
– เพราะบรรยากาศการประชุมไม่เอื้อให้เกิดไอเดีย ?
– ขนาดและลักษณะของผู้เข้าร่วมประชุมไม่เหมาะสม ?
– เวลาที่เหมาะสมในการประชุม?

ถ้าเราปล่อยให้การประชุมที่ไม่ได้ผลลัพธ์(ที่ดี) ให้ผ่านไปโดยไม่หาสาเหตุ แล้วก็ทำการประชุมซ้ำอีกหลายในอาทิตย์ต่อมา โดยหวังผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิม คำตอบก็คงเห็นได้ชัดว่า เป็นไปได้ยาก

สิ่งที่ผู้ร่วมประชุมมักทำโดยไม่ตั้งใจ แต่ทำลายโอกาสเกิดไอเดียอันน่าสนใจ มีดังนี้

1. ไม่เลือกผู้เข้าร่วมประชุม

การเลือกเอาคนที่มีบทบาทหน้าที่และความเชี่ยวชาญที่ต่างกันมาคุยกัน จะเปิดโอกาสให้เรามองเห็นปัญหาในหลายมุมมอง และเพิ่มโอกาสที่จะสร้างแนวคิดใหม่ๆได้ง่ายกว่าใช้คนในสายงานเดียวกันทั้งหมด 3948724485_792b1af70d_z 2. มีผู้เข้าร่วมบางส่วนเป็นกลุ่มคนที่มีอำนาจตัดสินใจในผลลัพธ์ของการระดมสมอง

การให้คนที่อำนาจตัดสินใจเป็นผู้ร่วมเสนอไอเดีย จะส่งผลในแง่ลบมากกว่าดี อย่างแรก กลุ่มคนเหล่านั้นมีโอกาสสูงมากที่จะรีบตบไอเดียที่ไม่เข้าตาให้ตกเร็วจนเกินไป สอง คำพูดของกลุ่มคนเหล่านี้จะชี้นำและโน้มโน้มการตัดสินใจของกลุ่มได้ง่าย ซึ่งส่งผลเสียให้โอกาสการเกิดของไอเดียที่ยังไม่ตกผลึกจากคนตัวเล็กๆถูกมองข้ามได้ง่าย สาม คนกลุ่มที่ไม่มีอำนาจตัดสินใจ จะระมัดระวังการเสนอความคิดมากไป และถ้ายิ่งบรรยากาศของการประชุมไม่อนุญาตให้คนพูดผิด/คิดต่าง โอกาสที่จะมีไอเดียที่แปลกแหวกแนวจะยิ่งลดลงต่ำกว่ากลุ่มที่คุยเล่นกันสบายๆ

4892378102_aa735b7f4a_z 3. ขนาดของกลุ่มใหญ่เกินไป

จากการศึกษาเรื่องขนาดกลุ่มคนที่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้มีประสิทธิภาพ ทั้งเวลาและคุณภาพ พบว่าขนาดที่เหมาะสมอยู่ประมาณ 6-8 คน (หรือเลี้ยงอาหารพอได้ด้วย pizza 2 ถาด) มากเกินกว่านั้นจะทำให้บริหารโอกาสการแสดงความคิดเห็นของแต่ละคนยากขึ้นไปอีก

5836699183_ced3b2ab4e_z 4. กำหนดเป้าหมายของการระดมสมองไม่ชัดเจน 

เป้าหมายของการระดมสมองเป็นไกด์ไลน์ให้คนพุ่งเป้าไปในทิศทางเดียวกัน และเลือกวิธีในการลีดการประชุมให้เหมาะสม การประชุมระดมไอเดียใหม่ๆ จะมีแนวทางการประชุมที่ต่างจากการประชุมทั่วไปอยู่นิดหน่อย การประชุมทั่วไป มักจะให้คนที่รู้เรื่องแกนหลักมากที่สุดเป็นผู้นำการประชุมและคอยช่วยดึงประเด็นการประชุมให้อยู่ในเนื้อหาที่กำลังพูดคุย แต่กับการระดมสมอง มักจะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ การเปิดหาไอเดียแปลกใหม่ และวิเคราะห์ความเป็นไปได้     688553237_ceba309702_z5. รับฟังความเห็นที่ฟังดูไม่ดีไม่จบ และเป็นทุกคนไม่ช่วยกันต่อยอดไอเดียคนอื่น

โดยทั่วไปคนจะคุ้นเคยกับการวิเคราะห์ไอเดียคนอื่นแล้วตัดสินทันทีว่าเป็นสิ่งที่โอเคหรือไม่ วิธีการนี้ส่งผลเสียในแง่ที่ตัดโอกาสของไอเดียที่แย่ในสายตาตนเอง ซึ่งบางครั้งไอเดียที่แย่มากอาจพัฒนาออกมาเป็นทางออกที่ดูดีกว่าไอเดียทั่วไปมาก ขึ้นกับโอกาสในการกลั่นกรองและต่อยอดของการประชุม ดังนั้นเพื่อให้ไอเดียทั้งหลายมีโอกาสเติบโต ผู้เข้าร่วมต้องแยกแยะให้ได้ว่า ขณะประชุมนั้นอยู่ในสถานะ ระดมความคิด หรือช่วงตัดสินใจเลือก ถ้าเป็นช่วงแรก ต้องพยายามหาทางต่อยอดไอเดียแทนที่จะรีบกำจัดทิ้ง

4688416205_8c71d1e89f_z 6. รีบเลือกคำตอบที่โจ่งแจ้งเร็วไป

ข้อเสียของการที่ได้คำตอบแรกที่รวดเร็วระหว่างการประชุมคือ มันอาจจะปิดกั้นไม่ให้คนอื่นคิดต่อยอดทางเลือกอื่นๆ ซึ่งความจริงอาจมีทางออกที่ดีมากว่าหลายเท่า ดังนั้นผู้เข้าร่วมประชุมและผู้ลีดการประชุมต้องคอยกระตุ้นตัวเองเสมอว่า ยังมีทางเลือกอื่นที่น่าสนใจอีกหรือไม่ ถ้ามี จงขุดมันขึ้นมาคิดกันต่อไป

8257275630_022b044583_z 7. ไม่ช่วยกันจดไอเดีย

ในการประชุมนำเสนอข้อมูลทั่วไป คนลีดคนเดียวจะช่วยคุมความคิดได้ดี แต่ในการระดมไอเดีย วิธีนี้จะกลายเป็นการบีบความคิดที่แตกต่างมากไป การให้ทุกคนมีอุปกรณ์ในการจดจะช่วยลดปัญหาไอเดียหล่นหายระหว่างการประชุมได้

3383537791_7d8e14c89a_z 8. ใช้เวลานานเกินไปในการประชุมระดมสมอง

ระยะเวลาที่เหมาะสมมีตั้งแต่ 15 นาที (สำหรับกลุ่มเล็กๆ) และ 45-60 นาทีสำหรับกลุ่มขนาด 2 pizza เกินกว่านั้นจะเริ่มขาดความต่อเนื่องและสมาธิในการประชุม

6662357209_be51aaf100_z 9. ไม่สรุปว่าจะทำอะไรต่อ

เป้าหมายของการระดมไอเดียที่ดี คือ กระตุ้นให้ทุกคนรู้สึกเกิดความคิดและความสนใจเพื่อที่จะออกไปลงมือต่อกันอย่างมีพลังพลุ่งพล่านในตัว การกำหนดเป้าหมายต่อไปของแต่ละคนที่ชัดเจนจะทำให้ภาพรวมเคลื่อนที่ต่อไปได้ การปล่อยให้มีตติ้งจบแบบงงๆ จะทำให้การประชุมครั้งขาดความต่อเนื่องและเริ่มไอเดียต่อได้ยาก

2577158444_4759ce6941_z

ถ้าใครสนใจเนื้อหาแนวๆนี้ ผมแนะนำให้ลองเดินหาหนังสือชื่อ “inGenius”
หรือชื่อไทย “วิชาความคิดที่คุ้มค่าหน่วยกิตที่สุดในโลก” ของ Tine Seelig ของสำนักพิมพ์ WeLearn
มาลองอ่านเล่นดูครับ น่าจะตอบโจทย์ได้ไม่น้อยทีเดียว 🙂

Malcolm Gladwell – What the dog saw

02 Monday Feb 2015

Posted by windygallery in IDeas

≈ Leave a comment

Tags

gladwell, idea, inspiration, malcolm

11791573_91bde70979_o

ปกติผมเป็นคนอ่านหนังสือไม่มากนัก และไม่ค่อยหลากหลาย
อันเนื่องด้วยปัจจัยหลักสองอย่างคือเงินและเวลา
หลายครั้งที่แวะเข้าร้านหนังสือแล้วเดินเลือกหนังสือบนชั้นขายดีขึ้นมาดู แล้วพบว่าเนื้อหามันเป็นหนังสือ how-to สอนทำโน่นนั่นนี่ ผมก็จะวางมันลงไปสงบนิ่งบนชั้นต่อไปอย่างเงียบๆ เพราะโดยส่วนตัวรู้สึกว่าการป้อนอาหารใส่ปากแล้วจับกรามขยับเคี้ยวให้เลยมันดูไม่ได้ใส่ใจกับชีวิตมากไปหน่อย

ครั้นจะหาหนังสือที่กลั่นเอาแต่ภาพที่สร้างแรงบันดาลใจพลุ่งพล่านก็ใช่ว่าจะหาได้ง่ายๆ แถมบางครั้งจริตคนทำกับคนเสพก็ไม่ค่อยจะสอดคล้องกันง่ายๆ

ช่วงปีที่ผ่านๆมาจำนวนหนังสือที่ผ่านเข้าตามาก็น้อยลง แต่ก็ล้วนแล้วแต่คัดสรรให้เหมาะกับสไตล์ของตัวเองอย่างจริงจังมากขึ้น (ซึ่งส่วนตัวก็ถือว่าโอเคอยู่)

ผมได้อ่านผลงานของ Malcolm Gladwell ครั้งแรก จากคำแนะนำของน้อง @sahasbhop ผู้ซึ่งนิยมเสพหนังสือแนวใกล้เคียงกัน ผลงานแรกของเขาชื่อว่า Outliers ซึ่งเนื้อหาของเขาทำให้มุมมองชีวิตบางด้านเปลี่ยนไปจากที่เคยเป็น ถือเป็นหนังสือที่ช่วยเปิดไอเดียและแนวคิดที่มาได้ถูกเวลามากในชีวิตช่วงนั้น

หลังจากเริ่มติดตามผลงานของ Malcolm ต่อเนื่องมาอีกสองสามเล่ม ผมก็เริ่มจับสไตล์งานเขียนที่โดดเด่นออกจากผลงานทั่วไปในตลาด เป็นแนวคิดที่เริ่มต้นง่าย แต่ไปต่อลำบากและเลียนแบบได้ยากยิ่ง

ประเด็นของเขาจะเริ่มต้นด้วยสิ่งต่างๆที่เรามักพบเห็นเป็นเรื่องธรรมดาในชีวิต(ของคนยุคปัจจุบัน) แต่เมื่อ Malcolm เริ่มหยิบยกคำถามในบางแง่มุมขึ้นมาถาม คำนิยามเราจะเริ่มสั่นคลอน และเขาจะเริ่มขุดคุ้ยเอาข้อมูลและรายละเอียดในมุมที่คนทั่วไปไม่รู้จะหามาจากที่ไหน เป็นข้อมูลที่มักเน้นไปในทางที่พิสูจน์ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์พร้อมข้อมูลอ้างอิงในมุมตรงข้าม และมักจะหักล้างความเชื่อหรือความรู้สึกเดิมๆเสียจนแหลกไม่เป็นชิ้นดี

และในหนังสือเล่ม what the dog saw
Malcolm ก็ใช้วิธีการแบบเดียวกันกับหนังสือเล่มอื่นๆ (blink, the tipping point, outliers)

เพียงแต่เล่มนี้ ความเชื่อมโยงของเนื้อหาแต่ละบทไม่ได้หล่อหลอมรวมเป็นแกนก้อนเดียวแบบเล่มอื่นๆ แต่กลับใช้ความหลากหลายของเนื้อหา ตัวอย่างและข้อมูลประกอบมหาศาลเข้ามาเปิดมุมมองให้กว้างกว่าชนิดที่ทั้งสามเล่มก่อนเทียบไม่ได้

ผมขอยกตัวอย่าง บางคำถามที่แกะออกมาจากหนังสือเล่มนี้ เพื่อให้ลองนึกภาพตามได้ง่ายขึ้นว่าผู้ชายคนนี้คิดและเล่าอะไรให้พวกเราฟังบ้าง

– ถ้าบริษัทอาหารจะทำสุดยอดซอสมะเขือเทศขาย จะทำอย่างไรให้ได้สูตรซอสที่อร่อยที่สุดมา และสุดยอดซอสมะเขือเทศที่คนทั้งหมดชอบมันมีอยู่จริงหรือ? ถ้าไม่อะไรคือซอสมะเขือเทศที่คนจะชอบ?

– ประวัติการออกแบบยาคุมกำเนิดที่แพร่หลายไปทั่วทั้งโลก ที่จริงๆแล้วมันไม่เป็นธรรมชาติ! การที่ผู้หญิงมีประจำเดือนทุกเดือนคือเรื่องปกติ จริงหรือ? และการมีประจำเดือนมาสม่ำเสมอทุกเดือนสร้างผลข้างเคียงร้ายแรงอะไรกับเราบ้าง? (ที่มันเพิ่งจะมาเกิดกับคนยุคปัจจุบันเพราะยาคุม)

– ทำไมคนบางคนถึงสามารถทำให้หมาเชื่อฟังได้ง่าย ในขณะที่บางคนหมามักจะขู่ใส่

– ทำไมการซื้อบ้านให้คนไร้บ้านอยู่ฟรีๆถึงคุ้มค่า (เมื่อมองในภาพรวม)

– เราเชื่อมั่นเครื่องมือวัดบางอย่าง(เช่นเครื่อง x-ray) มากเกินไปหรือเปล่า? การวินิจฉัยโรคในปัจจุบันยังมีตรงไหนที่เราคิดว่ามันดี (ทั้งๆที่จริงๆแล้วผลมันไม่ดีอย่างที่คิด)

– ผลงานเพลง/บทประพันธ์นี้ลอกเขามา หรือ ได้รับแรงบันดาลใจเพื่อสร้างสรรค์ต่อยอด? เรากำลังปิดกั้นโอกาสสร้างสรรค์หรืออ้างความเป็นเจ้าของที่ไม่ได้มีจริงๆหรือเปล่า?

– วิเคราะห์ความล้มเหลวของสถานการณ์เฉพาะหน้า ออกเป็นสองรูปแบบคือ ความคิดล้นหัว กับตื่นตระหนก ที่จะทำให้เรื่องธรรมดาๆกลายเป็นเลวร้ายสุดขีด ที่บางทีจะทำให้คนที่มีความรู้ความสามารถสูง ทำผิดพลาดซ้ำๆไม่รู้จบ

– ข้อดีของความขัดแย้งระดับที่พอเหมาะในวัฒนธรรมองค์กร

– อัจฉริยะส่วนใหญ่จะเป็นตอนหนุ่มจริงเหรอ ถ้าไม่อัจฉริยะตอนแก่จะมีเส้นทางอย่างไร และพิเศษกว่าอย่างไร?

– วิธีการวัดและเลือกคนเข้าทำงานปัจจุบันมีประสิทธิภาพสูงสุดจริงหรือ วิธีเลือกคุณครูที่สอนเด็กให้มีประสิทธิภาพเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง? ผลลัพธ์ของการเลือกสองตัวอย่างนี้จะเปลี่ยนคุณภาพของบริษัท/เด็กนักเรียนได้แตกต่างกันแค่ไหน?

– การรวมคนเก่งมาทำงานร่วมกัน และใช้วัฒนธรรมองค์กรแบบส่งเสริมแต่คนเก่ง จะทำให้องค์กรเดินหน้าได้ดีกว่าองค์กรที่มีคนหลายระดับความสามารถจริงหรือ ถ้าไม่ อะไรคือสิ่งที่มีอิทธิพลสูงกว่า?

– เวลาสองวินาที ประเมินคนได้แค่ไหน? และจริงแค่ไหน ?

https://www.flickr.com/photos/poptech2006/2966504303โดยสรุป หนังสือเล่มนี้ยังควรค่าแก่การแนะนำให้อ่านครับ ^^

Subscribe

  • Entries (RSS)
  • Comments (RSS)

Archives

  • August 2017
  • November 2015
  • August 2015
  • June 2015
  • May 2015
  • April 2015
  • March 2015
  • February 2015
  • January 2015
  • December 2014
  • November 2014
  • October 2014
  • September 2014
  • August 2014
  • July 2014
  • June 2014
  • May 2014
  • April 2014
  • March 2014
  • May 2012
  • February 2011
  • January 2011
  • August 2010
  • June 2010
  • May 2010
  • April 2010
  • February 2010
  • January 2010
  • December 2009
  • November 2009
  • October 2009
  • September 2009
  • August 2009
  • April 2009
  • March 2009
  • November 2008
  • October 2008

Categories

  • Developer
  • Events
  • Games
  • IDeas
  • Love
  • Photos

Meta

  • Register
  • Log in

Create a free website or blog at WordPress.com.

Privacy & Cookies: This site uses cookies. By continuing to use this website, you agree to their use.
To find out more, including how to control cookies, see here: Cookie Policy
  • Follow Following
    • WindyGallery's Weblog
    • Already have a WordPress.com account? Log in now.
    • WindyGallery's Weblog
    • Customize
    • Follow Following
    • Sign up
    • Log in
    • Report this content
    • View site in Reader
    • Manage subscriptions
    • Collapse this bar
 

Loading Comments...