Tags
ในการทำงานสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เรามักจะต้องอาศัยการรวมหัวกันคิดเพื่อแก้โจทย์ หรือเปิดมุมมองใหม่ๆเกี่ยวกับวิธีแก้ปัญหา ที่จะทำให้ผลงานออกมาดี แต่การรวมหัวกันคิดทั่วๆไป มักจะให้ผลลัพธ์ครึ่งๆกลางๆมากกว่าไอเดียที่โดนใจอย่างที่คาดหวัง
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?
Tina Lynn Seelig แห่งมหาวิทยาลัย Standford ได้ทำการศึกษาค้นคว้าถึงวิธีการที่จะทำให้ สามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ออกมาเป็น process ที่จับต้องได้และทำซ้ำได้ง่ายขึ้น โดยแนวคิดของเธอพิสูจน์ให้เห็นถึงรายละเอียดหลายๆมุมที่น่าสนใจ
เพื่อให้เข้าใจแนวคิดของ Tina ง่ายขึ้น เราควรมาเริ่มต้นวิเคราะห์กันที่ต้นตอของปัญหากัน
สิ่งที่เรามักพบบ่อยในการประชุมรวมหัวเพื่อสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ คือ “ไม่ได้ไอเดียที่น่าสนใจจริงๆ”
คำถามสำคัญที่ควรวิเคราะห์ ก็คือ ทำไมไอเดียดีๆจริงไม่เกิดขึ้น ?
– เพราะคนเข้าร่วมไม่มีความสามารถ
– เพราะคนลีดการประชุมทำหน้าที่ไม่ดี
– เพราะบรรยากาศการประชุมไม่เอื้อให้เกิดไอเดีย ?
– ขนาดและลักษณะของผู้เข้าร่วมประชุมไม่เหมาะสม ?
– เวลาที่เหมาะสมในการประชุม?
ถ้าเราปล่อยให้การประชุมที่ไม่ได้ผลลัพธ์(ที่ดี) ให้ผ่านไปโดยไม่หาสาเหตุ แล้วก็ทำการประชุมซ้ำอีกหลายในอาทิตย์ต่อมา โดยหวังผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิม คำตอบก็คงเห็นได้ชัดว่า เป็นไปได้ยาก
สิ่งที่ผู้ร่วมประชุมมักทำโดยไม่ตั้งใจ แต่ทำลายโอกาสเกิดไอเดียอันน่าสนใจ มีดังนี้
1. ไม่เลือกผู้เข้าร่วมประชุม
การเลือกเอาคนที่มีบทบาทหน้าที่และความเชี่ยวชาญที่ต่างกันมาคุยกัน จะเปิดโอกาสให้เรามองเห็นปัญหาในหลายมุมมอง และเพิ่มโอกาสที่จะสร้างแนวคิดใหม่ๆได้ง่ายกว่าใช้คนในสายงานเดียวกันทั้งหมด 2. มีผู้เข้าร่วมบางส่วนเป็นกลุ่มคนที่มีอำนาจตัดสินใจในผลลัพธ์ของการระดมสมอง
การให้คนที่อำนาจตัดสินใจเป็นผู้ร่วมเสนอไอเดีย จะส่งผลในแง่ลบมากกว่าดี อย่างแรก กลุ่มคนเหล่านั้นมีโอกาสสูงมากที่จะรีบตบไอเดียที่ไม่เข้าตาให้ตกเร็วจนเกินไป สอง คำพูดของกลุ่มคนเหล่านี้จะชี้นำและโน้มโน้มการตัดสินใจของกลุ่มได้ง่าย ซึ่งส่งผลเสียให้โอกาสการเกิดของไอเดียที่ยังไม่ตกผลึกจากคนตัวเล็กๆถูกมองข้ามได้ง่าย สาม คนกลุ่มที่ไม่มีอำนาจตัดสินใจ จะระมัดระวังการเสนอความคิดมากไป และถ้ายิ่งบรรยากาศของการประชุมไม่อนุญาตให้คนพูดผิด/คิดต่าง โอกาสที่จะมีไอเดียที่แปลกแหวกแนวจะยิ่งลดลงต่ำกว่ากลุ่มที่คุยเล่นกันสบายๆ
3. ขนาดของกลุ่มใหญ่เกินไป
จากการศึกษาเรื่องขนาดกลุ่มคนที่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้มีประสิทธิภาพ ทั้งเวลาและคุณภาพ พบว่าขนาดที่เหมาะสมอยู่ประมาณ 6-8 คน (หรือเลี้ยงอาหารพอได้ด้วย pizza 2 ถาด) มากเกินกว่านั้นจะทำให้บริหารโอกาสการแสดงความคิดเห็นของแต่ละคนยากขึ้นไปอีก
4. กำหนดเป้าหมายของการระดมสมองไม่ชัดเจน
เป้าหมายของการระดมสมองเป็นไกด์ไลน์ให้คนพุ่งเป้าไปในทิศทางเดียวกัน และเลือกวิธีในการลีดการประชุมให้เหมาะสม การประชุมระดมไอเดียใหม่ๆ จะมีแนวทางการประชุมที่ต่างจากการประชุมทั่วไปอยู่นิดหน่อย การประชุมทั่วไป มักจะให้คนที่รู้เรื่องแกนหลักมากที่สุดเป็นผู้นำการประชุมและคอยช่วยดึงประเด็นการประชุมให้อยู่ในเนื้อหาที่กำลังพูดคุย แต่กับการระดมสมอง มักจะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ การเปิดหาไอเดียแปลกใหม่ และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ 5. รับฟังความเห็นที่ฟังดูไม่ดีไม่จบ และเป็นทุกคนไม่ช่วยกันต่อยอดไอเดียคนอื่น
โดยทั่วไปคนจะคุ้นเคยกับการวิเคราะห์ไอเดียคนอื่นแล้วตัดสินทันทีว่าเป็นสิ่งที่โอเคหรือไม่ วิธีการนี้ส่งผลเสียในแง่ที่ตัดโอกาสของไอเดียที่แย่ในสายตาตนเอง ซึ่งบางครั้งไอเดียที่แย่มากอาจพัฒนาออกมาเป็นทางออกที่ดูดีกว่าไอเดียทั่วไปมาก ขึ้นกับโอกาสในการกลั่นกรองและต่อยอดของการประชุม ดังนั้นเพื่อให้ไอเดียทั้งหลายมีโอกาสเติบโต ผู้เข้าร่วมต้องแยกแยะให้ได้ว่า ขณะประชุมนั้นอยู่ในสถานะ ระดมความคิด หรือช่วงตัดสินใจเลือก ถ้าเป็นช่วงแรก ต้องพยายามหาทางต่อยอดไอเดียแทนที่จะรีบกำจัดทิ้ง
6. รีบเลือกคำตอบที่โจ่งแจ้งเร็วไป
ข้อเสียของการที่ได้คำตอบแรกที่รวดเร็วระหว่างการประชุมคือ มันอาจจะปิดกั้นไม่ให้คนอื่นคิดต่อยอดทางเลือกอื่นๆ ซึ่งความจริงอาจมีทางออกที่ดีมากว่าหลายเท่า ดังนั้นผู้เข้าร่วมประชุมและผู้ลีดการประชุมต้องคอยกระตุ้นตัวเองเสมอว่า ยังมีทางเลือกอื่นที่น่าสนใจอีกหรือไม่ ถ้ามี จงขุดมันขึ้นมาคิดกันต่อไป
ในการประชุมนำเสนอข้อมูลทั่วไป คนลีดคนเดียวจะช่วยคุมความคิดได้ดี แต่ในการระดมไอเดีย วิธีนี้จะกลายเป็นการบีบความคิดที่แตกต่างมากไป การให้ทุกคนมีอุปกรณ์ในการจดจะช่วยลดปัญหาไอเดียหล่นหายระหว่างการประชุมได้
8. ใช้เวลานานเกินไปในการประชุมระดมสมอง
ระยะเวลาที่เหมาะสมมีตั้งแต่ 15 นาที (สำหรับกลุ่มเล็กๆ) และ 45-60 นาทีสำหรับกลุ่มขนาด 2 pizza เกินกว่านั้นจะเริ่มขาดความต่อเนื่องและสมาธิในการประชุม
เป้าหมายของการระดมไอเดียที่ดี คือ กระตุ้นให้ทุกคนรู้สึกเกิดความคิดและความสนใจเพื่อที่จะออกไปลงมือต่อกันอย่างมีพลังพลุ่งพล่านในตัว การกำหนดเป้าหมายต่อไปของแต่ละคนที่ชัดเจนจะทำให้ภาพรวมเคลื่อนที่ต่อไปได้ การปล่อยให้มีตติ้งจบแบบงงๆ จะทำให้การประชุมครั้งขาดความต่อเนื่องและเริ่มไอเดียต่อได้ยาก
ถ้าใครสนใจเนื้อหาแนวๆนี้ ผมแนะนำให้ลองเดินหาหนังสือชื่อ “inGenius”
หรือชื่อไทย “วิชาความคิดที่คุ้มค่าหน่วยกิตที่สุดในโลก” ของ Tine Seelig ของสำนักพิมพ์ WeLearn
มาลองอ่านเล่นดูครับ น่าจะตอบโจทย์ได้ไม่น้อยทีเดียว 🙂