สรุปประเด็นน่าสนใจจากงาน Agile Thailand 2015 (ภาคแรกครับ)
1. Agile Dialogue
by Kulawat (Pom) Wongsaroj + Bee
Session นี้เป็นเรื่องของการฝึก skill “การฟัง” (ที่น่าสนใจมาก)
เวลาทำงานร่วมกันกับคนหมู่มาก ปัญหา conflict ถือเป็นเรื่องปกติ
แต่การประชุมกันเพื่อแก้ปัญหามักมีสถานการณ์หลายๆอย่างที่ทำให้
การแก้ปัญหาไม่จบลงอย่างที่ควรจะเป็น บางคนอาจเคยเจอสถานการณ์ที่
เหมือนจะตะโกนใส่กันมากกว่าการพูดคุย หรือมีเกรียนตัวใหญ่ที่คอยแย่งพูด
การฝึกตัวเองในคลาสนี้ เพื่อช่วยให้รู้ตัวเองตลอดการประชุม รู้จักคุมจังหวะ
ไม่รีบผลีพลามยิงสวนขณะที่คนอื่นกำลังพูด วิธีการที่ง่ายและตรงไปตรงมาคือ
การกำหนด Rules ขึ้นมาร่วมกัน 3 ข้อ ที่จะช่วยกำกับ “สติ” ของทุกคน
ข้อแรก: พูดทีละคน
เพื่อให้มีโอกาสได้ฟัง และ(จง)ตั้งใจฟัง
ข้อที่สอง: ไม่วิจารณ์
แต่ให้พูดในแนวทางที่สร้างสรรค์เพื่อเสริมไอเดีย ไม่ใช่มุ่งแต่จะทำลายความคิด/ไอเดียของผู้อื่น
ข้อที่สาม: ไม่ตัดสินความคิดคนอื่น
การฝึกคิดที่มุ่งตัดสินความคิดคนอื่นจะทำให้เรารีบคิดหาช่องว่างหรือแนวทางอื่นมาหักล้าง จนทำให้สติในการตั้งใจฟังสาระ “หลุด” จากผู้พูด (นี่คือหนึ่งสาเหตุใหญ่ที่ทำให้คนคุยกันคนละหัวข้อ เพราะไม่ตั้งใจฟังคนอื่นพูดให้จบก่อน แต่รีบแทรกพูด) กับคนที่มี ego สูงจะต้องหาทางลด ego เขาก่อน (อาจโดยลดตัวเองก่อนด้วย)
นอกจากเรื่องการฟังแล้ว ใน Session ยังขยายไอเดียออกไปครอบคลุมถึงเรื่องอื่นๆ
ของ Agile ด้วยอีกเล็กน้อย ขอสรุปเป็นประเด็นสำคัญตามความคิดเห็นของผมเองเป็นข้อๆ ดังนี้ครับ
- Lean คือ วิธีการทำงานแบบที่มุ่งเน้นการลด watse ในกระบวนการ
- Agile เป็นหลักการทำงานที่ช่วยให้เข้าใจธรรมชาติของ software development process ง่ายขึ้น (ซึ่งจะมีหายแนวทางย่อยและ practices ย่อย)
- การที่ทีม commit งานไว้มากเกินไป = การทำงานแบบ overload ตลอดเวลา
- เมื่อทำงานหนักมาก ไม่มีจุดพัก กำลังใจคนทำงานจะหมดเร็ว
- เมื่อไม่มีเวลาพัก = ขาดโอกาสในการพัฒนาตัวเองหรือเสริมศักยภาพใหม่ๆ
- ทำให้ทีมท้อและพังได้ง่าย
- การทำงานให้ได้ผลงานมากที่สุด ตอบโจทย์ใคร นายจ้าง? ทีม?
- เมื่อ burn ชีวิตมากไป แล้วจะรักษา balance ของครอบครัว/การทำงานได้หรือ?
- ถ้าคนทำงานไม่ Happy อะไรคือ goal ระยะยาวร่วมกัน
- ปัญหาต้นๆของการคุยกับลูกค้าคือ ใช้ estimation = commit (ซึ่งมันคนละเรื่องกัน!)
- ถ้าคุยกันภายในทีมรู้เรื่องดี จะทำให้ประมาณ velocity ของทีมได้ดีขึ้นเรื่อยๆ
- คนทำงานด้วยกันจะประมาณเวลาได้ใกล้เคียงมากขึ้น
- และในกรณีที่ estimate ผิด ต้องรีบ feedback ให้ลูกค้าเร็ว เพื่อให้ลูกค้าปรับแผน/ตัดสินใจ
Action items (สำหรับตัวเอง): ฝึกสติจับประเด็นตอนประชุมแก้ปัญหา conflict ให้ได้ตลอดเวลา
2. การ coach ก็เหมือนการเลี้ยงลูกนั่นแหละ
by Juacompe + Chawin
Session นี้ว่าด้วยการสังเกตถึงการดูแลเด็กตัวน้อยๆคนนึง (ในช่วงที่กำลังพัฒนาพฤติกรรมขวบปีแรก) และนำมาเปรียบเทียบกับการโค้ชให้ผู้อื่น
ในช่วง 3 ปีแรกของอายุ จะเป็นช่วงที่เด็กกำลังเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว และสมองกำลังเริ่มเตรียมความพร้อมในการสร้างเซลล์ประสาทในแต่ละด้าน เช่น การควบคุมอารมณ์, ทักษะการเข้าสังคม, ภาษา (เป็นสาเหตุให้การฝึกภาษาใหม่หลังสามขวบทำได้ไม่ดีเท่าฝึกช่วงต้นอายุ)
(*) ข้อมูลอ้างอิง http://www.unicef.org/dprk/ecd.pdf
พัฒนาการในช่วงนี้จะเกิดขึ้นตลอดเวลา และนี่เป็นธรรมชาติของเด็ก
หันมามองกลับกัน เรามักจะได้ยินคำว่า “คนไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง”
ซึ่งพอมาย้อนคิดดูอีกที มันอาจจะไม่จริงซะทีเดียวนัก เพราะที่จริงแล้ว คนเรามีความสามารถในการปรับตัว (adapt) เข้ากับสิ่งแวดล้อมสูงมากจนเราไม่ถือว่ามันคือการเปลี่ยนแปลง ยกตัวอย่างเช่น เราสามารถกินอาหารเช้าไม่ซ้ำกันแต่เราก็ไม่ได้มองว่ามันคือการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นคำว่าเปลี่ยนแปลงจึงขึ้นกับขนาดของพฤติกรรมและความสำคัญที่ส่งผลต่อจิตใจผู้กระทำมากกว่าแค่ action เฉยๆ
ปัญหาของการโค้ชเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมคนทำงานจากแบบเดิมๆ(ที่มักประสิทธิภาพไม่สูง) ให้มาลองของใหม่ ถ้าอาศัยแค่การพูดหักว่าของเดิมไม่ดีเพื่อบังคับให้ลองเปลี่ยน จะทำให้เกิดแรงต่อต้านเล็กๆภายในใจ มากกว่าการให้ลองทำ แต่วิธีการเหล่านี้ใช้ไม่ได้กับเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถสื่อสารกลับโดยตรงได้โดยใช้ภาษาเป็นตัวกลาง
แล้วกับเด็กทำอย่างไรล่ะ?
เรามักคิดว่าเด็กเล็กๆไม่เข้าใจการพูด แต่เราอาจมองข้ามไปว่าเด็กสามารถเข้าใจ body language (และฝึกฝนทักษะเพื่อเข้าใจได้เร็วมาก) การพูดคุย สัมผัส ปลอบ การชื่นชมเมื่อเขาทำถูกต้อง หรือให้กำลังใจเมื่อเขาทำผิดพลาด (ฝึกให้ positive ไม่ว่าจะ action จะ success หรือ failed) จะทำให้เขาค่อยๆมีความมั่นใจและเห็นคุณค่าในตัวเอง และทำให้เขากล้าลองทำในสิ่งใหม่ๆมากขึ้น โดยไม่มีแรงต่อต้านเท่าการบังคับให้ทำ
และก็คล้ายกันกับการโค้ชทีม
ที่ body language มีผลช่วยให้ทีมเชื่อมั่นในตัวเอง แม้จะลองแล้วผิดพลาด แล้วกล้าที่จะลองไปทำอะไรใหม่ๆเพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองต่อ
หัวข้อย่อย1: ความแข็งแกร่งภายนอก vs. ความแข็งแกร่งจากภายใน
บางครั้งการแก้ปัญหา conflict ภายในองค์กร มักทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น พูดคุยหาข้อตกลง ยอมทำตามคำสั่ง ไม่ยอมแต่ไม่ทำ เลิก ลาออก ฯลฯ สิ่งแต่ละวิธีมักจะถูกเลือกขึ้นมาจากระดับความสัมพันธ์ของคนที่ทำงานด้วยกัน (เช่น ถ้าสนิทกันก็อาจจะไปพูดคุยตกลงกันตอนกินข้าวได้ แต่ถ้าเกลียดกันอาจจะต้องหาใครมาไกล่เกลี่ยแทน)
ในกรณีที่มีทางเลือกให้ใช้แก้ conflict โดยอาศัยผู้อื่น/สิ่งอื่นเข้ามาช่วย (เคสนี้จะเรียกกันว่า ความแข็งแกร่งจากภายนอก) เช่น ใช้ตำแหน่ง, อำนาจหน้าที่ทุบโต๊ะ, ให้ผู้ใหญ่กว่าบังคับ, กำลัง(หมายถึงกับเด็ก) สิ่งเหล่านี้มักทำให้แก้ปัญหาได้ง่ายกว่าการสื่อสารโดยใช้คำอธิบายความคิดและความรู้สึกเพื่อโน้มน้าวให้ผู้อื่นเข้าใจและเห็นคล้อยตาม (อันนี้เรียกว่าความแข็งแกร่งจากภายใน)
แต่การทำงานโดยอาศัยพลังภายนอกบ่อยๆ จะกลายเป็นการปล่อยให้ตัวเองไม่ได้ฝึกฝนความแข็งแกร่งจากภายใน และกัดกร่อนตัวเองไปเรื่อยๆ พอถึงวันนี้ที่เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น อำนาจหาย ตำแหน่งไม่มี ขาดผู้ใหญ่แบ็คอัพ คนที่ความแข็งแกร่งภายในน้อยก็จะเริ่มทำงานลำบาก
ดังนั้น ต้องฝึกให้ตัวเองสามารถแก้ปัญหา conflict ได้ด้วยตัวเองให้ได้
วิธีที่จั๊วะใช้คือ อธิบายเหตุผลและความรู้สึกประกอบกันในการสื่อสาร ไม่ใช้วิธีให้คนอื่นช่วย
และคอยเสริมให้ทุกคน(รวมทั้งเด็ก)มีความเชื่อมั่นในตัวเองว่ามีคนคอยช่วยเหลือดูแลอยู่เสมอ เพื่อที่เมื่อเขาโตขึ้นเขาจะมีความแข็งแกร่งภายในมากเพียงพอ ที่จะทำอะไรและแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง
หัวข้อย่อย2: Emotional bank account
ในการแก้ปัญหา บางครั้งเราก็อาจจะ focus ผิดจุด
เช่นเราอาจจะทุบโต๊ะเพื่อเอาผลงานให้รวดเร็วจนมองข้ามความรู้สึกของผู้ร่วมงานไป
ซึ่งทำลาย Balance ระหว่าง เป้าหมายร่วมกัน กับ ความสัมพันธ์ระยะยาว
ถ้ามองว่าอารมณ์ตอบสนองของคนเหมือนบัญชีธนาคาร (Emotional bank) การทำดี ชื่นชม ให้กำลังใจ สนับสนุน ก็เหมือนการฝากเพิ่ม ส่วนการด่า ประชด ไม่เห็นคุณค่าต่อกัน ทำร้ายความรู้สึก เป็นการถอน
เมื่อวันนึงที่ emotional ใน bank ติดลบ คนก็เกิด bias
พูดอะไรเท่าไหร่เขาก็จะไม่ฟัง พูดธรรมดาก็กลายเป็นประชด พูดด่าลอยๆก็นึกว่าด่าตัวเอง แล้วบรรยากาศการทำงานร่วมกันทุกอย่างก็จะแย่ลง
ทำผิดพลาดก็ควรจะขอโทษ ทำดีต่อกันก็ให้ขอบคุณ เพื่อรักษาอารมณ์ของผู้ร่วมงานบ้าง
จะแก้อคติกับใคร ขอให้เริ่มที่ตัวเราเองก่อน
เพื่อความยั่งยืนของความสัมพันธ์ระยะยาวที่จะนำไปสู่เป้าหมายร่วมกัน
Action items: ฝึกตัวเองให้ควบคุมอารมณ์ให้มั่นคง, long relationship is important than short goal
🙂